
ปลูกผมถาวรแบบไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา? คงเป็นคำถามยอดฮิตสำหรับคนที่มีปัญหาผมร่วง-บาง ศีรษะล้าน เพราะการปลูกผมเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก หากไม่ศึกษาให้ดี อาจก่อให้เกิดผลเสียหรือผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปตามความต้องการได้ และนอกจากคำถามยอดฮิตนี้แล้วก็จะมีถามอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น ปลูกผมที่ไหนดี? หมอท่านไหนเก่งและเชียวชาญด้านการปลูกผม? หรือ ปลูกไปแล้วผมจะกลับมาร่วงอีกไหม?
ซึ่งในปัจจุบันก็มีคลินิกปลูกผมมากมาย พร้อมนวัตกรรมการปลูกผมแบบต่าง ๆ ให้เราเลือกสรร ดังนั้นใครที่กำลังสนใจการปลูกผมอยู่ละก็ ก็ควรที่จะศึกษาและพิจารณาให้ถี่ถ้วน ถึงข้อมูล ความเสี่ยง และผลลัพธ์ที่จะได้ พร้อมการเลือกคลินิกหรือศูนย์ปลูกผมที่ได้มาตรฐานและศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้น วันนี้ Nida Esth’ Medical Centre (ศูนย์การแพทย์ นิดา เอสธ์) จึงได้รวบรวมข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจการรับการปลูกผม พร้อมอัพเดตเทรนด์ปลูกผมมาแรงในปี 2022 นี้ค่ะ
- 1.ผมร่วง-บางจากฮอร์โมนและพันธุกรรม สาเหตุหลักของปัญหาหัวล้าน สามารถสังเกตได้อย่างไร
- 2.อัพเดตสุดยอดเทรนด์ปลูกผมมาแรงที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในปี 2021
- 3.เช็คให้ชัวร์ว่าการปลูกผมแบบไหนเหมาะกับปัญหาผมของเราที่สุด
- 4.ขั้นตอนการปลูกผมแบบไม่ผ่าตัด ด้วยเซลล์คุณเอง UR Cell hair Micro Transplant+
- 5.การอนุบาลเซลล์หลังการปลูกผมด้วย Ur Cell Hair Micro Transplant+ สำคัญอย่างไร
- 6.ตรวจสอบความแตกต่างระหว่างการปลูกผมด้วย UR Cell Hair Micro Transplant Plus+ เปรียบเทียบกับการปลูกผมด้วยวิธีอื่นๆ
- 7.การปลูกผมแบบ UR Cell hair Micro Transplant ผมดกหนาถาวรหรือไม่
- 8.ตรวจสอบความน่าเชื่อถือและมาตรการด้านความปลอดภัยของศูนย์ปลูกผม
- 9.ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของศัลยแพทย์ผู้ทำการปลูกผม
- 10.มีเทคโนโลยีที่สามารถการันตีผลลัพธ์การปลูกผมที่ประเมินได้จริงแบบเส้นต่อเส้นหรือไม่
1.ผมร่วง-บางจากฮอร์โมนและพันธุกรรม สาเหตุหลักของปัญหาหัวล้าน สามารถสังเกตได้อย่างไร
รู้หรือไม่ว่าจากการรายงานของผลการวิจัยในสหรัฐอเมริกาตีที่พิมพ์ใน NCBI (National Center for Biotechnology Information) กล่าวไว้ว่าปัญหาผมร่วงบางจากฮอร์โมนและพันธุกรรมเป็นสาเหตุหลักของปัญหาผมร่วง-บาง ศีรษะล้านของคนเอเชียกว่า 73% รวมไปถึงคนไทยด้วย ดังนั้นก่อนจะเข้าสู่เทรนด์ปลูกผมมาแรงประจำปี 2021 เรามาลองสำรวจกันก่อนดีกว่าว่าปัญหาผมร่วง-บางของเรานั้นเกิดมาจากฮอร์โมนและกรรมพันธุ์หรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
1. มีคนในครอบครัวที่มีปัญหาผมร่วง-บางจากฮอร์โมนและพันธุกรรมหรือไม่? เนื่องจากปัญหาผมร่วงบางจากฮอร์โมนและพันธุกรรมเป็นปัญหาที่สามารถส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นได้ ดังนั้นหาก พ่อ-แม่ หรือ ปู่ย่า-ตายาย ของเรามีปัญหาผมร่วง-บางแล้วละก็ เราก็มีโอกาสที่จะประสบปัญหานั้นได้เช่นกัน
2. ผมไม่ได้ร่วงเยอะในแต่ละวัน แต่ผมบนหนังศีรษะบางลงอย่างเห็นได้ชัด
3. มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพเส้นผมหรือไม่ กล่าวคือ ผมเส้นใหญ่กลับกลายเป็นผมที่เส้นเล็กลง จนเหมือนเป็นไรผม?
4. มีปัญหาผมบางผมร่วงบางแบบดังต่อไปนี้หรือไม่

4.1 จากภาพจะเห็นได้ว่าปัญหาผมร่วง-บางจากฮอร์โมนและพันธุกรรมในผู้หญิงจะมีลักษณะบางเริ่มจากตรงกลางศีรษะ และขยายวงกว้างออกไปเป็นเหมือนไข่ดาวจนคลอบคลุมบริเวณกลางหนังศีรษะ ดังในภาพหมายเลข 2-4 ตามระดับความรุนแรง
4.2 แต่ในกรณีระดับผมร่วง-บางของผู้ชายนั้นจะเริ่มจากภาพหมายเลข 2 กล่าวคือผมมักจะเริ่มบางแบบเว้าหน้าก่อนและมีเริ่มไข่ดาวกลางศีรษะตามมา และเมื่อปัญหารุนแรงมากขึ้น ส่วนที่เว้าด้านหน้ากับส่วนที่บางกลางศีรษะจะกว้างขึ้นเรื่อย ๆ จนมาประจวบรวมเป็นแผ่นเดียวกันดังในภาพที่ 4-5-6
ดังนั้นหากลองสังเกตดูตัวเองตาม 4 ข้อนี้แล้ว พบว่าตรงกับปัญหาของตัวเองแล้วละก็ เราก็สามารถสรุปแบบเบื้องต้นได้เลยว่า เรามีปัญหาผมร่วงบางจากฮอร์โมนและพันธุกรรมอย่างแน่นอน
ผมร่วง-บางจากฮอร์โมนและพันธุกรรมคืออะไร?
ผมบางแบบพันธุกรรม หรือ ผมร่วงที่เกิดจากกรรมพันธุ์ (Androgenetic Alopecia) หรือ AGA เกิดขึ้นจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยมักเกิดขึ้นในเพศชายเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบ้างที่เกิดในเพศหญิง โดยอาการที่เกิดขึ้นมักไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย แต่อาจจะส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจได้ ตามสถิติแล้วคนไทยมักพบอาการผมบางแบบพันธุกรรมในผู้ชายอายุระหว่าง 18-90 ปี

โดยสาเหตุเกิดจากการที่ระดับเอนไซม์ 5-alpha reductase ที่บริเวณหนังศีรษะเพิ่มขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วเอนไซม์นี้มีหน้าที่เปลี่ยน ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone) ไปเป็นฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (dihydrotestosterone หรือ DHT) ซึ่งฮอร์โมน DHT เป็นฮอร์โมนที่ทำให้รูรากผมฝ่อตัวลง จึงเป็นเหตุให้ผู้ที่มีอาการผมบางแบบพันธุกรรมจะมีระดับเอนไซม์ 5α-reductase เพิ่มขึ้นจนทำให้รูรากผมฝ่อและหดตัวจนเส้นผมที่ผลิตขึ้นมีลักษณะบางและสั้น จึงเกิดอาการผมบางและหลุดร่วงตามมา จนกระทั่งนำไปสู่ภาวะศีรษะล้าน

2.อัพเดตสุดยอดเทรนด์ปลูกผมมาแรงที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในปี 2022
ปัจจุบันในปี 2022 นี้ มีเทคโนโลยีการปลูกผมมากมายหลายวิธี แต่เทคโนโลยีการปลูกผมที่ได้รับความนิยมสูงสุดมีอยู่ 3 แบบด้วยกัน คือ
- การปลูกผมแบบตัดหนังศีรษะ (Follicular Unit Transplantation: FUT)
- การปลูกผมแบบย้ายกอ (Follicular Unit Extraction: FUE)
- การปลูกผมด้วยเซลล์ของเราเอง แบบไม่ผ่าตัด (UR Cell hair MicroTransplant)

1. การปลูกผมแบบตัดหนังศีรษะ (Follicular Unit Transplantation: FUT)
เป็นการตัดหนังศีรษะที่มีผมจากด้านหลังบริเวณท้ายทอยมาเย็บติดกับหนังศีรษะบริเวณที่ไม่มีผม ซึ่งส่วนที่ถูกตัดออกมาจะถูกเย็บปิดและเกิดเป็นแผลเป็น โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 50,000 บาท
ข้อดี | ข้อเสีย |
---|---|
|
|
2. การปลูกผมแบบย้ายกอ (Follicular Unit Extraction: FUE)
เป็นการนำเอารากผมจากด้านหลังมาปลูกไว้ที่บริเวณที่ผมบาง โดยแบ่งเป็นการปลูกผมโดยใช้รากผมในปริมาณมากโดยใช้รากผม 4 – 10 รากต่อหลุมผมแต่ละหลุม โดยมีราคาตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาทขึ้นอยู่กับพื้นที่และปริมาณผมที่ปลูก ซึ่งต้องดูระยะการเห็นผลลัพธ์ว่าผมที่นำมาปักนั้น เซลล์รากผมจะติดฝังเข้าไปในรูรากผมหรือไม่
ข้อดี | ข้อเสีย |
---|---|
|
|
3. การปลูกผมแบบฝังเซลล์รากผม ไม่ต้องกินยา ไม่ต้องผ่าตัด (UR Cell Hair Micro Transplant+)
UR Cell Hair Micro Transplant+ เป็นการปลูกผมโดยใช้ “เซลล์รากผม” ของผู้ที่มีปัญหาผมบางเองนำมาสกัดเพื่อให้ได้ Lived Cell ที่มีชีวิตและแข็งแรงพร้อมที่จะนำไปทำการ “ฝัง” Stem Cell รากผมในบริเวณที่มีปัญหา ไม่ต้องกินยา ไม่ต้องผ่าตัด ไม่เยงเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ผมแน่น ผมจริงดกหนาเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องสูญเสียผมเก่า
ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีเอกสิทธิ์หนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ผสานศาสตร์ด้านเพิ่มจำนวนเส้นผมจากยุโรปและเทคนิคการเพิ่มความหนาของเส้นผมจากญี่ปุ่นเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันในคนไข้ทั้งไทยและเทศ โดยค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยวิธีนี้ตั้งแต่ 175,000 – 450,000 บาท โดยขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของปัญหาผมบาง
ข้อดี | ข้อเสีย |
---|---|
|
|

3.เช็คให้ชัวร์ว่าการปลูกผมแบบไหนเหมาะกับปัญหาผมของเราที่สุด
การผ่าตัดปลูกผมแบบ FUT เหมาะกับใครบ้าง
- บุคคลที่มีปัญหาผมบางหรือหนังศีรษะล้านระดับรุนแรง
- ผู้ที่ต้องการสร้างแนวผมใหม่ในบริเวณที่ไม่เคยมีเส้นผมมาก่อน
- เหมาะอย่างยิ่งสำหรับบุคลที่ต้องปลูกเส้นผมมากกว่า 2,500 กราฟขึ้นไป
การปลูกผมแบบ Ur Cell Hair Micro Transplant เหมาะกับใครบ้าง
- เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง-บางจากฮอร์โมนและพันธุกรรมระดับต้น-ปานกลาง
- เหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการผ่าตัด หลังรักษาพร้อมใช้ชีวิตตามปกติได้ทันที
- เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการรับประทานยา เนื่องจากกังวลในผลข้างเคียง
- เหมาะกับคนที่ไม่อยากโกนผมก่อนทำการรักษา
4.ขั้นตอนการปลูกผมแบบไม่ผ่าตัด ด้วยเซลล์คุณเอง UR Cell hair Micro Transplant+
การปลูกผมด้วย “เซลล์ของคุณเอง” นับเป็นเทคนิคการปลูกผมลิขสิทธิ์หนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่ผสมผสานเอาศาสตร์การเพิ่มจำนวนเส้นผมจากยุโรป และเทคนิคการเพิ่มความหนาของเส้นผมจากญี่ปุ่นเข้าไว้ด้วยกัน จึงทำให้ผลลัพธ์หลังการรักษามีประสิทธิภาพเพิ่มจำนวนเส้นผมที่ดกหนาได้จริงอย่างเป็นธรรมชาติ

โดยกล่าวสรุปเป็น 3 ขั้นตอนหลังดั้งนี้
- “สะกิด” รากผมที่แข็งแรงในบริเวณที่ไม่ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมนและพันธุกรรมประมาน 4-5 รากผม ด้วยเครื่องมือพิเศษเพียง 2 ม.ม.
- “สกัด” นำไปผ่านกระบวนการ Live Cells Activation เพื่อให้ได้เซลล์รากผมที่ยังคงความมีชีวิตนับแสนเซลล์
- “ฝัง” ลงหนังศีรษะบริเวณที่มีปัญหาผมบางด้วยขั้นตอนที่เรียกว่า “Auto Transplant” ซึ่งในทางการแพทย์คือ การปลูกถ่ายเซลล์จากร่างกายของคนไข้เอง โดยเซลล์ที่มีชีวิตและแข็งแรงเหล่านี้จะเข้าไปซ่อมแซม เสริมสร้างรากผมใหม่ด้วยกระบวนการ “เซลล์ซ่อมเซลล์” จนเติบโตขึ้นเป็นเส้นผมจริงที่ดกหนา เป็นธรรมชาติในที่สุด
5.การอนุบาลเซลล์หลังการปลูกผมด้วย Ur Cell Hair Micro Transplant+ สำคัญอย่างไร

“การฝังเซลล์รากผม” คือการสกัดเอาเซลล์มีชีวิตที่แข็งแรง Lived Cell จำนวน 300,000-500,000 เซลล์ เพื่อนำมาฝังในบริเวณที่มีปัญหาผมบาง โดยเจ้าเซลล์เหล่านี้จำทำหน้าที่เหมือน “เซลล์ซ่อมเซลล์” คือเข้าไปซ่อมแซมเซลล์รากผมเก่าที่อ่อนแอ ใกล้หลุดร่วง ให้กลับมาแข็งแรง พร้อมเข้าไปทำหน้าที่แตกตัวและเพิ่มจำนวนเซลล์ใหม่ที่แข็งแรงพร้อมงอกขึ้นมาเป็นผมเส้นใหม่ที่ดกหนา แต่ในความเป็นจริงแล้ว เซลล์เหล่านี้ก็ต้องการสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ซึ่งโปรแกรม ปลูกผม UR Cell Hair Micro Transplant Plus+ เราดูแลครอบคลุมตั้งแต่การสแกนวิเคราะห์เจาะลึกปัญหาผมในระดับเซลล์แบบเส้นต่อเส้น ไปจนถึง Post Operation การอนุบาลเซลล์รากผม เพื่อให้เซลล์เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนี้
- การใช้ Low-Level Laser ช่วยเร่งปฏิกิริยาการแบ่งตัวของเซลล์
- การให้ Hair Hormone Balance เข้าไปปรับสมดุลของเซลล์ให้อยู่ในภาวะที่สมดุล
- การให้ Hair Nutrition สารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติมโตของเซลล์รากผม
- เทคนิค HARG (Hair Regenerative Therapy) เข้าไปเพิ่มความหนาของเส้นผมแบเส้นต่อเส้น
- Medi-Hair Product from Japan ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสกัดเข้มข้นจากประเทศญี่ปุ่น ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นความดกหนาของเส้นผม
6.ตรวจสอบความแตกต่างระหว่างการปลูกผมด้วย UR Cell Hair Micro Transplant Plus+ เปรียบเทียบกับการปลูกผมด้วยวิธีอื่นๆ

7.การปลูกผมแบบ UR Cell hair Micro Transplant ผมดกหนาถาวรหรือไม่

เนื่องจากเซลล์รากผมที่ถูกสกัดออกมาจะทำหน้าที่ปกป้องรากผมจาก Effect ของ ฮอร์โมนเพศชายได้ จึงสามารถยับยั้งผมหลุดร่วงได้ ร่วมกับทฤษฎี Cell heal Cell (เซลล์ซ่อมเซลล์) คือการซ่อมเซลล์รากผมที่ฝ่อตัวจาก effect ของ Hormone Androgenetic Alopecia (AGA) ให้กลับสู่สภาพแข็งแรง ปรับวงจรเส้นผมที่ผิดปกติให้กลับสู่ภาวะปกติ ผลลัพธ์คือมีเส้นผมงอกขึ้นใหม่ตามวงจรชีวิตปกติของเส้นผม กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์รากผม และเสริมสร้างอาหารที่จำเป็นและมีประโยชน์ในการเจริญเติบโตของเซลล์รากผม ผลลัพธ์คือ มีเส้นผมใหม่ที่ดกหนาเกิดขึ้นได้อย่างเป็นธรรมชาติในระยะยาว ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิดการปลูกผมที่ให้ผลยาวนานที่สุดก็ว่าได้
8.ตรวจสอบความน่าเชื่อถือและมาตรการด้านความปลอดภัยของศูนย์ปลูกผม

ปัจจุบันมีสถานพยาบาลหลากหลายแห่งที่ให้บริการศัลยกรรมปลูกผม การเลือกสถานพยาบาลจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่ควรมองข้ามโดยต้องคำนึงถึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- Safety Policy มาตรการด้านความปลอดภัยและความสะอาดภายในศูนย์ปลูกผม
- มีศัลยแพทย์วุฒิบัตรเป็นผู้ทำการรักษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์
- มี AI Plan แจ้งรายละเอียดโปรแกรมการรักษาที่ชัดเจนตั้งแต่วิธีการทำไปจนถึงค่าใช้จ่ายที่แน่นอน
- มีการดูแลอย่างใกล้ชิดทั้งก่อนและหลังการรักษาโดยพยาบาลผู้ชำนาญการ
- ทำการปลูกผมในสถานที่ที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย และได้รับการรับรองจากสถาบันระดับนานาชาติ
- มีการประเมินผลลัพธ์ที่ชัดเจน ก่อน-หลัง ถึงความเปลี่ยนแปลง
9.ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของศัลยแพทย์ผู้ทำการปลูกผม

หลังจากที่มั่นใจแล้วว่าจะเลือกปลูกผมที่ไหนดี เราก็ต้องมาศึกษาข้อมูลของแพทย์ที่จะทำการรักษาด้วยว่าเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการปลูกผมจริงหรือไม่ โดยศัลยแพทย์จะต้อง
- มีวุฒิบัตรศัลยแพทย์ตกแต่งและใบประกอบวิชาชีพชัดเจน โดยท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อศัลยแพทย์ได้ที่ https://www.thprs.org/find-doctor
- มีผลงานการรักษาจำนวนมาก เพื่อเป็นเครื่องการันตีประสบการณ์ในการรักษา
- มีเทคโนโลยีที่ช่วยวัดผลลัพธ์ก่อน-หลังการรักษาออกมาเป็นรูปธรรมและนามธรรมอย่างชัดเจน
- มีการวางแผนการรักษาอย่างเป็นระบบ พร้อมคอบโจทย์ปัญหาของคนไข้ในแต่ละราย
10.มีเทคโนโลยีที่สามารถการันตีผลลัพธ์การปลูกผมที่ประเมินได้จริงแบบเส้นต่อเส้นหรือไม่
ความลับของการรักษาผมร่วง ผมบาง ด้วย Ur Cell Hair Micro Transplant+ ทำไมทุกเคสถึงได้ผล เราต้องมาทำความรู้จักเทคโนโลยีอันเป็นความลับของความสำเร็จ นั้นก็คือ Nano Score Robotic System

เทคโนโลยี Nano Score Robotic Systems เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงจากประเทศเยอรมัน ปกติแล้วจะไม่พบในคลินิกหรือสถาบันเส้นผมทั่วไป จะใช้ในศูนย์วิจัยทางการแพทย์ระดับประเทศเท่านั้น แต่ที่ Nida Esth’ Medical Centre ลงทุนนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อวิเคราะห์การรักษาผมร่วง ผมบาง ทำให้การปลูกผมถาวรด้วย Ur Cell Hair Micro Transplant เห็นผลลัพธ์ที่น่าอัศจรรย์ Nano Score Robotic Systems สามารถจะวิเคราะห์เส้นผมและหนังศีรษะ ลึกเข้าไปจนถึงในระดับเซลล์ โดยสามารถ
1) นับจำนวนเส้นผมและความหนาแน่นโดยเฉลี่ยรวมของเส้นผม
2) วัดเปอร์เซ็นต์ความหนาของผมเส้นใหญ่ที่แข็งแรง
3) วัดจำนวนรูรากผม (Follicular Unit)
4) วัดค่าเฉลี่ยของเส้นผมในรูรากผม Follicular Unit ว่ามีจำนวนเส้นผมกี่เปอร์เซ็นต์
ผลการวิเคราะห์ตรงส่วนนี้สามารถที่จะทำให้แพทย์สามารถประเมินถึงสาเหตุและระดับความรุนแรงของปัญหาผมร่วง ผมบางได้อย่างตรงจุดและอย่างถูกต้องแม่นยำ

เมื่อผลการวิเคราะห์แม่นยำแล้ว หนทางสู่การรักษาผมร่วงผมบาง คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากผลการวิเคราะห์ออกมาว่าสามารถมีการเจริญเติบโตของเส้นผมและรูขุมขนยังไม่ปิดตายไป นั่นหมายความว่าการปลูกผมด้วย Ur Cell Hair Micro Transplant ต้องได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ แต่หากผลการตรวจวิเคราะห์ด้วย Nano Score Robotic Systems ออกมาว่ารู้ขุมขนบนหนังศีรษะปิดไปและไม่สามารถเจริญเติบโตได้ แพทย์จะแจ้งผลอย่างตรงไปตรงมาว่าไม่เหมาะกับการรักษาผมร่วง ผมบางด้วย Ur Cell Hair Micro Transplant เพื่อไม่ให้ตัวคนไข้เองต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

จากข้อมูลข้างต้น 10 เรื่องต้องรู้ ก่อนการปลูกผมนั้น ท่านจะเห็นได้ว่าไม่มีข้อไหนเลยที่ไม่สำคัญต่อการปลูกผม โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เช่นนี้ ยิ่งจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลทางการแพทย์ก่อนทำการรักษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากต้องคำนึงในเรื่องของผลการรักษาแล้ว ความปลอดภัยถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงไม่แพ้กัน ดังนั้น จากข้อมูลข้างต้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นองค์ความรู้รวมก่อนที่ท่านจะตัดสินใจทำการรักษาในเรื่องของผมร่วง-ผมบางอีกด้วยค่ะ
ทากท่านใดที่กำลังประสบปัญหาผมร่วง-บางจกฮอร์โมนและพันธุกรรมหรือยังไม่แน่ใจในสาเหตุที่ชัดเจน สามารถรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของ Nida Esth’ medical Centre ได้ที่ โทร 02-252-2121 หรือ Line Official Account @nida_esth
Reference
- William Cranwell, MBBS(Hons), BMedSc(Hons), Male Androgenetic Alopecia; website: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK278957/#male-androgen-alpcia.toc-references
- Won-Soo Lee, M.D., Ph.D.corresponding author and Hae-Jin Lee, M.D., Characteristics of Androgenetic Alopecia in Asian; website: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3412231/
- Olsen EA. Disorders of Hair Growth: Diagnosis and Treatment. New York: McGraw-Hill Inc. .
- Montagna W, Ellis R. The Biology of Hair Growth. New York: NY Academic Press.
- Smith MA, Wells RS. Male-Type Alopecia, Alopecia Areata, and Normal Hair in Women; Family Histories. Archives of dermatology 1964; 89:95-98
- Severi G, Sinclair R, Hopper JL, English DR, McCredie MR, Boyle P, Giles GG. Androgenetic alopecia in men aged 40-69 years: prevalence and risk factors. The British journal of dermatology 2003; 149:1207-1213
- Passchier J. Quality of life issues in male pattern hair loss. Dermatology 1998; 197:217-218
- Cotton SG, Nixon JM, Carpenter RG, Evans DW. Factors discriminating men with coronary heart disease from healthy controls. British heart journal 1972; 34:458-464
- Ford ES, Freedman DS, Byers T. Baldness and ischemic heart disease in a national sample of men. American journal of epidemiology 1996; 143:651-657
- Lesko SM, Rosenberg L, Shapiro S. A case-control study of baldness in relation to myocardial infarction in men. Jama 1993; 269:998-1003
- Ahouansou S, Le Toumelin P, Crickx B, Descamps V. Association of androgenetic alopecia and hypertension. European journal of dermatology : EJD 2007; 17:220-222