- ทำไมถึงต้องเลือกทำหน้าอกที่ Nida Esth Clinic
- สิ่งที่จำเป็นต้องทราบในการศัลยกรรมหน้าอก
- ตำแหน่งการวางซิลิโคนเพื่อเสริมหน้าอก
- ประเภทซิลิโคน
- ข้อห้ามใช้ซิลิโคน
- คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเสริมหน้าอก
ศัลยกรรมหน้าอก
การศัลยกรรมหน้าอกนั้นทำเพื่อความสวยงาม เสริมความมั่นใจ และแก้ไขปัญหาของหน้าอก หรือเรียกอย่างทั่ว ๆ ไปว่า ทำนมด้วยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดทำหน้าอกนั้น มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับปัญหา และกายวิภาคของแต่ละคน เช่น เพื่อเพิ่มขนาดหน้าอก ยกกระชับหน้าอก หรือปรับรูปทรงหน้าอก โดยการทำศัลยกรรมหน้าอกจะขึ้นอยู่กับปัญหาที่เกิดกับตัวคนไข้ว่าต้องใช้วิธีใด
ทำไมถึงต้องเลือกทำหน้าอกที่ Nida Esth Clinic
- ความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์ตกแต่ง นายแพทย์ปิยะ รังรักษ์ศิริ ที่มีเทคนิคเฉพาะในการทำ ศัลยกรรมหน้าอก และมีประสบการณ์มากว่า 18 ปี
- มีเจ้าหน้าที่วิสัญญีแพทย์ และพยาบาลชั้นนำที่มีประสบการณ์ในการดูแลคนไข้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้งในไทยและต่างประเทศ
- ดีไซน์ลักษณะและสัดส่วนของทรวงอกก่อนทำ ด้วยเทคโนโลยี Vectra 3D
- ใช้ซิลิโคนเกรดที่ดีที่สุดได้มาตรฐาน จากอเมริกา ซิลิโคนจะถูกเลือกมาเฉพาะบุคคลเท่านั้น พร้อมซีเรียลนัมเบอร์ในการรับประกัน
- ตรวจประเมิน วางแผน และให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
- ติดตามผลหลังการผ่าตัดด้วยระบบติดตามคนไข้และสายด่วนพร้อมแก้ไขปัญหาตลอด 24 ชั่วโมง
- หลังทำการเสริมหน้าอกคุณจะได้รับการดูแลจากทีมพยาบาลมืออาชีพทั้งการสอนนวดหน้าอกและการดูแลแผลหลังผ่าตัดเสริมหน้าอกให้แผลหายเร็วขึ้น
- ดำเนินการผ่าตัดและพักฟื้น ณ โรงพยาบาลพญาไท2 เป็นเวลา 1 คืน พร้อมอาหารเช้า
ใครที่เหมาะจะทำศัลยกรรมหน้าอก ? หน้าอกมีพัฒนาการที่ผิดปกติ
ผู้หญิงบางคนมีหน้าอกที่เล็กจากพันธุ์กรรม หรือพัฒนาการของหน้าอกผิดปกติระหว่างที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และบางคนมีปัญหาว่าหน้าอกทั้งสองข้างมีพัฒนาการที่แตกต่างกันจนเห็นได้ชัดเจน จึงอยากแก้ไขเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเอง ปัญหาหน้าอกหลังตั้งครรภ์
ผู้หญิงบางคนมีปัญหาหน้าอกหลังตั้งครรภ์ ว่าหน้าอกมีความเต่งตึงลดลง รวมถึงรูปทรงหน้าอกที่เปลี่ยนแปลงหลังการให้นมบุตร จึงอยากแก้ไขหน้าอกที่มีปัญหา
สิ่งที่จำเป็นต้องทราบในการศัลยกรรมหน้าอก
การผ่าตัด
การวางยาสลบ
- การวางยาสลบนั้นเพื่อคนไข้ไม่รู้สึกกังวลระหว่างการผ่าตัด และจะทำให้ศัลยแพทย์ทำงานได้ง่ายขึ้นระหว่างการผ่าตัด ซึ่งการจะวางยาสลบนั้นจะทำโดยวิสัญญีแพทย์เท่านั้น
ระหว่างการผ่าตัด
- ศัลยแพทย์ผ่าเปิดแผล เพื่อใส่ซิลิโคน แล้วทำการเย็บปิดแผล
- อาจมีการห่อพันหน้าอกหรือใส่เสื้อชั้นในเพื่อการค้ำพยุงเฉพาะ
- ในบางราย ศัลยแพทย์คงมีการสอดท่อระบายเพื่อลดการบวมและฟกช้ำ ซึ่งจะถูกถอดออกหลังการผ่าตัด 1 วัน
การฟื้นตัว
- เห็นผลทันทีหลังผ่าตัด
- อาการบวมหลังผ่าตัดจะลดลง และแผลผ่าตัดจะจางลงตามระยะเวลา
- 24-48 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด ระยะเวลาการฟื้นตัวขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
- ลดกิจกรรมต่าง ๆ 2-3 วันหลังผ่าตัด
- การออกกำลังกายหรือกิจกรรมอื่น แพทย์จะเป็นผู้แนะอีกครั้งหนึ่ง
- อาจมีการปวดและบวม 2-3 สัปดาห์หลังผ่าตัด
- แพทย์จะให้คำแนะนำ การดูแลหลังผ่าตัด
- ต้องสวมใส่เสื้อในแบบเฉพาะหลังการผ่าตัด ซึ่งออกแบบมาเพื่อเพิ่มการพยุงค้ำจุนระหว่างการขยายของแผล แพทย์อาจมีคำแนะนำเฉพาะอย่างอื่น
- ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นหลังการเสริมหน้านม ให้รีบติดต่อแพทย์ทันที
การเลือกเสริมหน้าอกให้เหมาะกับคนไข้
ศัลยแพทย์จะทำการวัดประเมินหน้าอกก่อนการทำศัลยกรรมเสมอ โดยพิจารณาจากความหนาของเนื้อเยื่อหน้าอก , ความกว้างของเต้านม , วัดระยะห่างหัวนมถึง รอยพับด้านล่างเต้านมเพื่อดูความยืดหยุ่นที่มากที่สุดของเต้านม และความยืดหยุ่นของผิวหนัง เมื่อพิจารณาแล้วก็จะทำให้สามารถบอกได้ว่า สามารถเลือกขนาดของซิลิโคนได้ที่ขนาดเท่าไหร่บ้าง
ตำแหน่งของการผ่าตัดเสริมหน้าอก
การผ่าตัดเพื่อเสริมหน้าอกโดยปกติสามารถเข้าได้ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ ใต้รักแร้ (Transaxillary), ใต้รอยพับเต้านม (inframammary), รอบปานนม (periarealar)
- ใต้รักแร้ ตำแหน่งนี้จะปกปิดแผลได้น้อย แต่เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้หญิงที่ไม่ต้องการให้มีแผลเป็นที่หน้าอก
- ใต้รอยพับหน้าอก เป็นตำแหน่งที่ได้รับความนิยมมาก เพราะแผลจะถูกปกปิดใต้รอยพับของผิวหนังใต้หน้าอก
- รอบปานนม เป็นตำแหน่งที่สามารถปกปิดแผลได้มากที่สุด
ก่อนการผ่าตัดแพทย์จะอธิบายถึงรายละเอียด ในแต่ละตำแหน่งการผ่าตัดอีกครั้ง และช่วยคุณตัดสินใจตำแหน่งที่เหมาะสมกับคุณ
เทคนิกการวางซิลิโคนเพื่อเสริมหน้าอก
- ตำแหน่งใต้ต่อมน้ำนม (วางใต้เนื้อเยื่อหน้าอกแต่เหนือกล้ามเนื้อทรวงอก) การเสริมในตำแหน่งใต้ต่อมน้ำนม ช่วยลดระยะเวลาการผ่าตัด และการหายของแผล แต่อาจมีข้อเสียคือ ขอบเขตของซิลิโคนใต้ผิวหนังอาจสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยรังสีวินิจฉัยก็อาจทำได้ยากกว่า
- ตำแหน่งใต้กล้ามเนื้อ (วางใต้ทั้งเนื้อเยื่อเต้านมและกล้ามเนื้อทรวงอก) การเสริมในตำแหน่งใต้กล้ามเนื้อจะช่วยในเรื่องความรู้สึกการสัมผัสดีขึ้น และลดโอกาสการเกิดความแข็งของพังผืดรอบซิลิโคน การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมด้านรังสีวิทยาทำได้ง่ายขึ้น แต่ข้อเสียคือ ระยะเวลาการผ่าตัดและการพักฟื้นนานขึ้น
- Dual Plane with Botox เป็นการผสมผสานเทคนิกเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนร่วมกับการฉีดสารโบท็อกซ์ – ซิลิโคลนส่วนบนจะถูกวางบริเวณใต้กล้ามเนื้อหน้าอก แต่ซิลิโคลนส่วนล่างจะถูกวางไว้เหนือกล้ามเนื้อหน้าอก โดยจะมีการฉีดสารโบท็อกซ์เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดระหว่างการทำศัลยกรรมเสริมหน้าอก ช่วยให้หน้าอกหลังเสริมหน้าอกชิดกันมากกว่าการเสริมหน้าอกแบบวางซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อ และช่วยให้หน้าอกเข้าทรงได้เร็วขึ้นว่าการเสริมหน้าอกแบบปกติ
ประเภทของซิลิโคน

ซิลิโคน รูปร่างหยดน้ำ

ซิลิโคน รูปทรงกลม
รูปร่างกลม VS รูปร่างหยดน้ำ
การเลือกชนิดและรูปร่างของซิลิโคนเสริมหน้าอกนั้นค่อนข้างซับซ้อน และมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะมากเพราะ ขึ้นกับลักษณะทางกายวิภาคของแต่ละคน รวมลักษณะลำตัว และทรวงอก, ความต้องการของผู้ที่จะเสริมหน้าอก และความสามารถ ความชำนาญ รวมทั้งเทคนิคในการผ่าตัดของแพทย์
จากประสบการณ์ส่วนตัวของหมอคิดว่าซิลิโคนทรงกลม (Round Implant) ยังคงเป็นตัวเลือกที่เป็นมาตรฐาน และดีที่สุด สำหรับบุคคลที่ต้องการเสริมหน้าอกทั่วไป ส่วนซิลิโคนทรงหยดน้ำนั้น ก็มีที่ใช้เป็นกรณี ๆ ไป เป็นทางเลือกในกรณีที่ต้องการแก้ไขเฉพาะส่วน ๆ ของหน้าอก ไม่ใช่นำมาใช้โดยทั่วไป
การเลือกรูปร่างและขนาดของซิลิโคนมีความสำคัญมาก เป็นขั้นตอนที่สำคัญเป็นอันดับสองรองจากการผ่าตัด ดังนั้นจึงควรแน่ใจว่าคุณเลือกซิลิโคนได้ถูกต้อง เหมาะสำหรับคุณจริง ถ้ายังมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมได้ เพื่อที่จะได้ตัดสินใจได้ ว่าคุณเลือกซิลิโคนได้ถูกต้อง และเหมาะกับคุณจริง ๆ
ซิลิโคน รูปร่างหยดน้ำ เหมาะกับ
- ผู้หญิงที่ไม่ต้องการให้มีเนินอก
- ผู้หญิงที่มีรูปทรงหน้าอกไม่สมมาตร
- ผู้หญิงที่ต้องการแก้ไขปรับความต่างระหว่างความสูงกับความกว้างของทรวงอก
- ทรวงอกยื่น
- เนื้อเยื่อในส่วนล่างของเต้านมมีน้อยหรือสั้น
ซิลิโคน รูปทรงกลม เหมาะกับ
- ผู้หญิงที่ต้องการหน้าอกที่เป็นทรงเต็ม และเติมเต็มส่วนบนของเต้านม
- ผู้หญิงที่มีหน้าอกสมมาตร หรือไม่ต่างกันมาก
- ผู้หญิงที่ต้องการแก้ไขความบกพร่องของเนื้อเยื่อเต้านมส่วนบน
- หน้าอกที่มีมีลักษณะหย่อนคล้อยเล็กน้อย
ข้อห้ามใช้ซิลิโคน
ห้ามใช้ซิลิโคนในผู้ป่วยที่มีภาวะต่อไปนี้- กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
- โรคภูมิต่อต้านตนเอง (Lupus เช่น SLE และ DLE)
- โรคที่มีการแข็งตัวของผิวหนัง (Scleroderma เช่น Progressive systemic sclerosis)
- ภาวะที่ทำให้แผลหายช้ากว่าปกติ (ยกเว้นผู้ป่วยผ่าตัดสร้างเต้านมหลังการผ่าตัดเต้านมออกจากการเป็นมะเร็ง)
- กำลังมีภาวะติดเชื้อหรือเป็นฝีหนองที่บริเวณใดๆ ของร่างกาย
- ลักษณะผิวหนังหน้าอกซึ่งไม่เอื้ออำนวยกับการเสริมหรือปรับแต่งหน้าอก (เช่น ถูกทำลายจากการฉายรังสี บางมาก หรือมีเลือดมาหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ)
- ภาวะใดๆ หรือการรักษาใดๆ ก็ตามที่แพทย์มีความเห็นว่าการผ่าตัดอาจก่อให้เกิดความเสี่ยง
- ความผิดปกติทางกายวิภาคหรือทางสรีรวิทยา อันอาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด
- มีประวัติแพ้วัสดุแปลกปลอม หรือไม่ประสบความสำเร็จในการผ่าตัด หรือสร้างเต้านมหลังจากความพยายามหลายครั้ง
- ไม่ยินยอมให้ผ่าตัด
- มีความคาดหวัง แรงจูงใจ หรือทัศนคติ หรือขาดความเข้าใจในเรื่องความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการผ่าตัด และหน้าอก
- โรคของเต้านมที่จะกลายไปเป็นเนื้อร้าย (Premalignant) และยังไม่ได้รับการรักษาโดยการตัดเต้านมออก (Subcutaneous mastectomy)
- มะเร็งเต้านมที่ไม่ได้รับการรักษา หรือได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสม โดยไม่ได้ทำการตัดเต้านมออก